About Us

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
(อังกฤษ: Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายใต้ “โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์” และสภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้ง “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์” เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2543 เป็นคณะลำดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประวัติ
เมื่อปี พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้จัดตั้ง “โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์” โดยสถานที่ตั้งในระยะแรกนั้น มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือขอยืมอาคารเรียนเดิมของวิทยาลัยเทคโนโลยีคณาสวัสดิ์ ประกอบด้วยอาคาร 2 ชั้น 1 อาคาร, อาคารชั้นเดียวและหอประชุม เพื่อใช้เป็นห้อง ปฏิบัติการออกแบบ โดยเปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมเมืองและชุมชน และหลักสูตรนฤมิตศิลป์ จนเมื่อปี จากนั้นในปี พ.ศ. 2542 คณะฯ ได้ย้ายสถานที่ทำการมายังอาคารเรียนรวมศิลปกรรม ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ม.ใหม่) ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ในปี พ.ศ. 2549 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ได้ขยายการศึกษาโดยเปิดหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ได้ย้ายอาคารเรียนและสถานที่ทำการจากอาคารเรียนรวมศิลปกรรมศาสตร์ มายังอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ เมื่อ ธันวาคม 2550[1]
ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555 คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีใหม่อีก 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิสถาปัตยกรรม และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการก่อสร้าง [1][2]: 7
ปีการศึกษา 2556 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิต อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำและรวบรวมข้อมูล โดยในปีการศึกษา 2557 คณะฯรับผิดชอบการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 6 หลักสูตรและปริญญาโท 1 หลักสูตร
ปีการศึกษา 2557 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ได้จัดเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินปรับปรุงหลักสูตรสถาปัตยกรรมบัณฑิต (สถ.บ.) สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง
ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี 6 หลักสูตร และปริญญาโท 1 หลักสูตร ได้แก่ ระดับปริญญาตรี หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขาสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมผังเมือง, และสาขาสถาปัตยกรรมภายใน), ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขาภูมิสถาปัตยกรรม), ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขานฤมิตศิลป์) และ วิทยาศาสตรบัณฑิต (การบริหารการก่อสร้าง) และปริญญาโท หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการวางผังชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม) [2]: 7

หลักสูตรการศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ จัดการเรียนการสอนใน 2 ระดับการศึกษา คือ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โดยการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) ใช้ระบบทวิภาค คือ แบ่งปีการศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย (หรืออาจมีภาคฤดูร้อนก็ได้) หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต เป็น 6 หลักสูตร ได้แก่ สถาปัตยกรรมศาสตร์ (สถาปัตยกรรมผังเมือง และสถาปัตยกรรมภายใน) ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ภูมิสถาปัตยกรรม), วิทยาศาสตร์ (การบริหารการก่อสร้าง), และศิลปกรรมศาสตร์ (นฤมิตศิลป์) ทั้งหกหลักสูตรได้รับการรับรองจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมีชื่อปริญญาและอักษรย่อ ตามราชกิจจานุเบกษา ปี พ.ศ. 2551

อาคารและสถานที่
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ก่อสร้างอาคารเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ขึ้น งบประมาณเงินแผ่นดินปี พ.ศ. 2545-2548 (งบผูกพัน) วงเงินงบประมาณที่ทำการก่อสร้างจำนวนทั้งหมด 91,800,000 บาท เลขที่สัญญาจ้างจ. 48/2547 สัญญาจ้างลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 วันสิ้นสุดสัญญาจ้าง 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ผู้ออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ (ศูนย์บริการวิชาการเพื่อชุมชน) บริษัทที่ปรึกษาผู้ควบคุมงาน บริษัท เซ้าท์อี๊สท์เอเซียเทคโนโลยี่ จำกัด (ข้อมูลแบบ Digital) บริษัทผู้รับจ้าง บริษัท บิลเลียนเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด การใช้ประโยชน์ ใช้เป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลักษณะอาคาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 20,976 ตารางเมตร มีชื่อไทยคือ อาคารเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์
ชั้น 1 – ห้องสำนักงานคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ – ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ – ห้องปฏิบัติการไม้ และเหล็ก – พื้นที่จัดนิทรรศการถาวร – พื้นที่จัดนิทรรศการชั่วคราว – ห้องพักอาจารย์ – ห้องประชุมใหญ่ – ห้องสโมสรนิสิต – ห้องเก็บเอกสาร – ห้องทำงานฝ่ายบริหารของคณะ – พื้นที่กิจกรรมคณะ – ห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์สโมสรนิสิต – ห้องประชุมขนาดกลาง
ชั้น 2 – ห้องบรรยาย – ห้องบรรยายAuditorium – ห้องอ่านหนังสือ/ห้องสมุด – ห้องบริการวิชาการ – ห้องพักอาจารย์ – ห้องประชุม – ห้องเก็บผลงาน – ห้องสำนักงานออกแบบ
ชั้น 3 – ห้องสตูดิโอ – ห้องบรรยาย – ห้องบรรยายระดับบัณฑิตศึกษา – ห้องปฏิบัติการผ้า – ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ – ห้องปฏิบัติการพิมพ์ผ้า
ชั้น 4 – ห้องสตูดิโอ – ห้องตัดเย็บผ้า – ห้องปฏิบัติการพลังงาน – พื้นที่ปฏิบัติการแสงอาทิตย์ – ห้องเก็บแผนที่
ชั้น 5 – ห้องสตูดิโอ – ห้องเก็บผลงาน